เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
คำว่า ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท อธิบายว่า ขอกล่าวถึงความประมาท
ความปล่อยจิตไป หรือการเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกามคุณ 5 ด้วยกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต หรือ การทำโดยไม่เคารพ การทำที่ไม่ให้ติดต่อ การทำที่
ไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ
ความไม่เสพ ความไม่เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความตั้งใจไม่จริง ความไม่หมั่น
ประกอบ ความประมาทในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าความประมาท
ความประมาท กิริยาที่ประมาท ภาวะที่ประมาทมีลักษณะเช่นว่านี้ นี้ตรัสเรียกว่า
ความประมาท
คำว่า ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท อธิบายว่า ไม่พึงอยู่ คือ ไม่พึงอยู่ร่วม
ไม่พึงอยู่อาศัย ไม่พึงอยู่ครองกับความประมาท ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมด
สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความประมาท คือ พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก
สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับความประมาท มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่
รวมความว่า ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท
คำว่า ความดูหมิ่น ในคำว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในความดูหมิ่น อธิบายว่า
คนบางคนในโลกนี้ ดูหมิ่นผู้อื่นเพราะชาติบ้าง เพราะโคตรบ้าง... เพราะเรื่องอื่น
นอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน
ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเชิดชูตน
เป็นดุจธงเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความดูหมิ่น
คำว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในความดูหมิ่น อธิบายว่า ไม่พึงตั้งอยู่ คือ ไม่พึงดำรงอยู่
ในความดูหมิ่น ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่ง
ความดูหมิ่น คือ พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง
กับความดูหมิ่น มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในความ
ดูหมิ่น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :505 }